ประวัติหลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ นครสวรรค์

บทความพระเครื่อง

ประวัติหลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ นครสวรรค์

บทความพระเครื่องหลวงพ่อฮวด กัณฑโว  วัดหัวถนนใต้ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ พระเถระของชาวบ้าน พระเกจินักพัฒนาและยังเป็นพระเถระที่ทรงวิทยาคุณ เป็นศิษย์หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่อคล้าย วัดพนมรอก และอีกหลายคณาจารย์ มีนามเดิมว่า ฮวด พงษ์ทอง เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2447 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะโรงที่บ้านดอนหวาย อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี ทั้งนี้ ครอบครัวได้ย้ายมาประกอบอาชีพที่บ้านหัวถนนใต้ ต.หัวถนน อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์

หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ นครสวรรค์
หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ นครสวรรค์

เมื่อ อายุครบ 20 ปี พ.ศ.2466 ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดพนมรอก อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ มี หลวงพ่อคล้าย เป็นพระอุปัชฌาย์ (ต่อมาหลวงพ่อคล้ายได้เป็นเจ้าคณะอำเภอท่าตะโก มีสมณศักดิ์ พระนิพันธ์ธรรมาจารย์) ได้ฉายาว่า กัณฑโว

เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อคล้าย เพื่อปรนนิบัติรับใช้ พร้อมทั้งศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมหลังจากนั้น จึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหัวถนนใต้

งาน ด้านพัฒนา พ.ศ.2502 สร้างโรงเรียนประชาบาลนิยุตประชาสรรค์ หรือโรงเรียนชุมชนวัดหัวถนนใต้ แบบครึ่งตึกครึ่งไม้ พ.ศ.2505 สร้างถนนเข้าหมู่บ้าน พ.ศ.2507 สร้างเขื่อนกั้นน้ำที่ลำห้วย ให้ชาวนาใช้น้ำได้สะดวก พ.ศ.2511 สร้างศาลาการเปรียญ พื้นไม้ หลังคากระเบื้อง

พ.ศ.2525 สร้างศาลาการเปรียญอาคารคอนกรีตทั้งหลัง ฉลองอายุครบ 200 ปี ของกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ.2525 สร้างหอระฆัง 2 หอ หน้าศาลาการเปรียญ พ.ศ.2529 เป็นประธานในการสร้างศาลาวัดเขาล้อ

พ.ศ.2531 จัดวางระบบน้ำประปาจากอำเภอท่าตะโกมาใช้ที่วัด พ.ศ.2533 สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 2 หลัง

ด้วยคุณูปการต่างๆ เหล่านี้ เป็นเครื่องยืนยันว่าหลวงพ่อฮวด เป็นพระนักพัฒนา มองเห็นความสำคัญของการศึกษา

หลวงพ่อฮวด มักจะกล่าวปรารภ ว่า “ควรจะสร้างคนก่อนที่จะสร้างวัตถุ”

บทความพระเครื่องหลวงพ่อได้ริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นก่อน แล้วจึงเริ่มพัฒนาวัดพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน, พัฒนาวัดใกล้เคียง และสร้างโรงพยาบาล  นอก จากนี้ ยังได้ก่อตั้งมูลนิธิพระครูนิยุตธรรมประวิตร มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ดอกผลที่ได้ มาเป็นค่าใช้จ่ายภายในวัด เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า สำนักงานตั้งอยู่ที่วัดหัวถนนใต้, ก่อตั้งมูลนิธิหลวงปู่ฮวด เพื่อใช้ดอกผลที่ได้ มาเป็นค่าใช้จ่ายภายในโรงพยาบาลท่าตะโก สำนักงานตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลท่าตะโก

หลวงพ่อฮวด ได้เริ่มศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมครั้งแรก จากหลวงพ่อคล้าย ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ (หลวงพ่อคล้ายเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเดิม สร้างเหรียญทวิภาคีร่วมกัน เมื่อคราวหลวงพ่อเดิม-หลวงพ่อคล้าย ช่วยสร้างพระอุโบสถ วัดพนมรอก เมื่อปี พ.ศ.2483)

หลวงพ่อฮวดศึกษา วิทยาคมเพิ่มเติมกับหลวงพ่อเดิม ซึ่งหลวงพ่อมีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อเดิม เนื่องจากหลวงพ่อเดิมได้มาช่วยพัฒนาวัดในเขตอ.ท่าตะโกหลายวัด เช่น การพัฒนาวัดทำนบ, วัดหนองไผ่, วัดเขาล้อ, วัดดอนคา, วัดโคกมะขวิด, วัดพนมรอก, วัดหนองหลวง, วัดหัวถนนเหนือ (เหตุที่หลวงพ่อเดิมได้มาช่วยพัฒนาวัดในเขตอ.ท่าตะโกมาก เนื่องจากบ้านหนองโพ-หัวหวายเป็นเขตติดต่อกับบ้านหนองหลวง-หัวถนน) หลายครั้ง หลวงพ่อเดิมได้รับกิจนิมนต์ไปยังที่ใด มักจะชวนหลวงพ่อฮวดร่วมเดินทางติดตามไปด้วยเสมอ

บทความพระเครื่องหลวงพ่อฮวด เป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ผู้สืบทอดสายพุทธาคมมาจากหลวงพ่อเดิม เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว หลังจากนั้น หลวงพ่อฮวดได้เล่าเรียนวิทยาคมกับอีกหลายพระอาจารย์ตามความชำนาญของแต่ละ ท่าน อาทิ วิชาทำตะกรุดกับหลวงพ่อพุฒ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง, เรียนทำน้ำมนต์กับหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา, เรียนทำผงเมตตามหานิยมโชคลาภจากหลวงพ่อศักดิ์ วัดวังกระโดนใหญ่ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ เป็นต้น

หลวงพ่อฮวด ได้มรณภาพเมื่อวันพุธที่ 26 สิงหาคม 2535 เวลา 08.47 น. ณ วัดหัวถนนใต้ สิริอายุ 88 พรรษา 68

คณะกรรมการวัด ได้บรรจุศพหลวงพ่อฮวดไว้ในโลงแก้ว ปรากฏว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ ด้วยศพหลวงพ่อไม่เน่าเปื่อย ทั้งที่เป็นโลงแก้วธรรมดา ไม่ได้เป็นแบบสุญญากาศ

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี วัดหัวถนนใต้ จะเปิดโลงเพื่อเปลี่ยนผ้าสบง-จีวรหลวงพ่อฮวด เพื่อความเป็นสิริมงคล ปัจจุบัน ศพตั้งไว้บนจัตุรมุขวิหาร วัดหัวถนนใต้ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ชาวบ้านตั้งสมญานามให้กับท่านว่า ‘พระของชาวบ้าน’

ที่มาคอลัมน์ อริยะโลกที่ 6
ชาติชาย เกียรติพิริยะ

บทความพระเครื่อง

ใส่ความเห็น